ความสัมพันธ์ของการเต้นแอโรบิคกับข้อเข่าเสื่อม


      DSC 0193การเต้นแอโรบิคกับขัอเข่าเสื่อมนั้น มีประเด็นที่ควรพิจารณาหลายประเด็น เพราะการเต้นแอโรบิคมีหลายประเภท โดยจะมีตั้งแต่ชนิดแรงกระแทกน้อย แรงกระแทกปานปลาง และแรงกระแทกมาก ส่วนใหญ่การเต้นแอโรบิคเป็นการใช้กำลังกล้ามเนื้อในการยกแขนขาหมุนตัวตามจังหวะ ไม่ค่อยมีการกระโดดให้เกิดแรงกระแทกมากๆ ความเสี่ยงในการเกิดแรงกระแทกกับข้อเข่าจึงไม่สูงมาก การงอเข่ามากๆ โดยที่ไม่ได้นั่งยองๆ ลงไปก็เกิดแรงเค้นในข้อเข่าไม่สูงนักจึงไม่นับเป็นปัจจัยที่เสี่ยงมากนัก ปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ความคุ้นเคยในการออกกำลังการประเภทแอโรบิค ถ้าผู้ออกกำลังคุ้นเคยเต้นแอโรบิคมานานตั้งแต่วัยสาว เมื่อมาถึงวัยกลางคนก็ยังคงเต้นต่อไปได้โดยไม่บาดเจ็บหรือเกิดอาการข้อเข่าเสื่อม แต่ถ้าสตรีวัยกลางคนไม่เคยเต้น แอโรบิคมาก่อนเลย มีอาการปวดข้อเข่ามาบ้างแล้ว หรือเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม และมาร่วมกิจกรรมการเต้นแอโรบิคชนิดแรงกระแทกมากก็อาจเป็นอันตราย อาจมีอาการข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ เหนื่อยง่ายก็ต้องระมัดระวังด้วยอาจมีอาการเหนื่อยเกินและมีอันตรายได้


      DSC 0179ผู้ที่ประสงค์จะเต้นแอโรบิคหัดใหม่ควรประเมินตนเอง ฝึกกล้ามเนื้อข้อเข่าให้แข็งแรงก่อน ฝึกการเคลื่อนไหวให้งอเหยียดเข่าให้สุด ฝึกความสมดุลย์และการทรงตัวให้ดี เลือกแอโรบิคชนิดแรงกระแทกน้อย (Low Impact) ก่อน เมื่อมีความเคยชินแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นการเต้นแอโรบิคที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วต่อเนื่องเพิ่มขึ้นภายหลัง การเตรียมตัวให้พร้อมรวมทั้งอุปกรณ์เสื้อผ้าก็สำคัญมาก รองเท้าที่ดีจะรับแรงกระแทกได้มากและไม่ทำให้เกิดเสียการทรงตัว


"มาสนุกกับการเต้นแอโรบิคกันเถอะ เตรียมตัวให้พร้อม เตรียมใจให้พร้อมและเริ่มเลย"


ข้อมูลโดย รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
คณแพทยศาสตร์ จุฬาฯ